hotline: 08-1991-4252, 08-1991-6768 สายด่วนโทรเลย
กล่องลูกฟูก (Corrugations Box)
ใบปลิว (Flyers)
แผ่นพับ (Leaflets)
โบว์ชัวร์ Brochures (หนังสือเล่มเล็ก)
ฉลากสินค้า (Labels)
กล่องบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
สาระน่ารู้ (Knowledge)
เกี่ยวกับเรา (About us)
ตัวอย่างงาน (Sample work)
ติดต่อเรา (Contact us)
พิมพ์สติ๊กเกอร์ราคาพิเสษสุด
 


คลิกเพื่อดูขนาดใหญ่่

 
คลิกเพื่อดูขนาดใหญ่
สาระน่ารู้ Knowledge เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ และการออกแบบ
...ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซด์ kscpackage ค่ะ โทรเลย สายด่วน. 062-9961644 ตลอดเวลา 8.00-21.00 น.
 
     
 
เป็นระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทไม่ใช่ระบบพิมพ์อิงค์เจ็ท

ทำไมงานที่พิมพ์แล้ว สีไม่เหมือนในหน้าจอเรา

ทำไมงานที่พิมพ์แล้ว สีไม่เหมือนในหน้าจอเรา กลับหน้าเดิม


งานพิมพ์ประเภทต่างๆ จากไฟล์งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นไฟล์งานประเภทใดก็ตาม ต้องเคยเจอปัญหาที่มีคำถามว่า ทำไมงานที่เราพิมพ์ออกมาจากเครื่อง Printer สีไม่เหมือนตอนดูในหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์เลย...

เคยส่งสัยไหมว่าท่านเคยพิมพ์รูปภาพออกมาจากเครื่อง Computer ที่บ้าน ต้องเคยประสบกับปัญหาว่า ภาพที่พิมพ์ออกมาจากเครื่อง Printer นั้น สีผิดเพื้ยนไปจากที่เราเห็นในจอภาพ มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี และคงจะมีคำถามในใจว่า ทำไมพริ้นท์งานออกมาเท่าไหร่ สีก็ไม่เห็นเหมือนหน้าจอสักที

เพื่อที่จะหาเหตุผลมาอธิบายปัญหาดังกล่าว เราต้องเข้าใจเรื่องระบบสีหลักๆ ที่ใช้กันทั่วไปอยู่ ณ เวลานี้เสียก่อน นั่นก็คือ ระบบสี RGB และระบบสี CMYK

แสงสีและหมึกพิมพ์
ภาพที่เรามองเห็นจากจอคอมพิวเตอร์เป็นภาพที่เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงของแสงสี 3 สี คือ แสงสีแดง (Red) แสงสีเขียว (Green) และแสงสีน้ำเงิน (Blue) เรียกย่อว่า RGB ซึ่งเป็นแม่สีของแสง แสงสีทั้งสามจะส่องมาที่จอภาพ และเกิดการการผสมของแสงสี ณ จุดแต่ละจุดบนจอตามปริมาณของแสงที่ต่าง ๆ กัน ทำให้เกิดเป็นสีต่าง ๆ มากมายบนจอ monitor  และเมื่อแสงสีทั้งสามมาผสมกันด้วยปริมาณแสงที่เท่ากันจะเกิดเป็นแสงสีขาว จึงเรียกว่า Additive Primary Colors 

ส่วนภาพพิมพ์ที่ปรากฏบนแผ่นกระดาษขาวเป็นภาพที่เกิดจากการที่แสงสีขาวส่องทะลุชั้นของหมึกพิมพ์ 4 สี คือสีเหลือง (Yellow) สีชมพู (Magenta) สีฟ้า (Cyan) และสีดำ (Black) สะท้อนผิวกระดาษขาวแล้วจึงเข้าสู่ตาของเรา สีทั้งสี่เมื่อมีปริมาณของหมึกแต่ละสีต่าง ๆกันในบริเวณเดียวกันจะทำให้เกิดเป็นสีต่าง ๆ มากมาย สีทั้งสี่ซึ่งเรียกย่อว่า CMYK ถือเป็นแม่สีสำหรับการพิมพ์ ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อนำหมึก 3 สี คือสีเหลือง สีชมพู และสีฟ้ามาทับกัน จะได้เป็นสีดำ จึงเรียกว่า Subtractive Primary Colors แต่ในความเป็นจริงเมื่อนำ 3 สีดังกล่าวมาทับกันจะได้สีเทาน้ำตาล ซึ่งเป็นเพราะความไม่บริสุทธิ์ของสารที่นำมาทำหมึก ดังนั้นในการพิมพ์จึงต้องนำหมึกสีที่ 4 คือสีดำมาช่วย เราจึงเรียกว่าเป็นการพิมพ์ 4 สี

ระบบสี RGB
ย่อมาจาก Red - Green - Blue ซึ่งเป็นแม่สีจากต้นกำเนิดที่เป็นแสง เช่น จอทีวี, จอคอมพิวเตอร์, จอโทรศัพท์มือถือ, หรือแม้แต่จอ VDO Projector (ลองสังเกตจอ Projector ก็จะเห็นว่ามีเลนส์อยู่ทั้งหมด 3 สี) โดยระบบสี RGB นี้จะสามารถสร้าง "ขอบเขตสี" ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ นั่นคือ ระบบสี RGB จะสามารถสร้างเฉดสีต่างๆ จากแสงแม่สีทั้ง 3 สี ได้อย่างมากมายนับไม่ถ้วน

แม่สี RGB

แม่สี RGB เป็นสีโปร่งแสง เมื่อนำทั้ง 3 สี มาผสมกัน จะได้แสงสีขาว

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ระบบสี CMYK
ย่อมาจาก Cyan - Magenta - Yellow - Black ซึ่งเป็นแม่สีจากต้นกำเนิดที่เป็นสีทึบแสง เช่น สีโปสเตอร์ สีที่เราใช้ทำงานศิลปะส่งอาจารย์ตอนประถม, สีน้ำ, และสีจากหมึกพิมพ์ นั่นเอง โดยระบบการพิมพ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ด้วยเครื่อง Printer ขนาดเล็กอยู่ที่บ้าน ทั้ง Laser และ Inkjet ไปจนถึงแท่นพิมพ์ขนาดใหญ่ อย่างแท่นพิมพ์ Offset ส่วนใหญ่ก็จะพิมพ์ด้วยระบบ CMYK ทั้งนั้น

ระบบสี CMYK นี้ จะมี "ขอบเขตสี" ที่เล็กกว่า "ขอบเขตสี" ของระบบ RGB นั่นคือ ระบบสี CMYK นั้นจะสร้างสีต่างๆ จากแม่สีหลักทั้ง 4 สี ได้น้อยกว่าแบบ RGB

แม่สี CMYK

แม่สี CMYK เป็นสีทึบแสง เมื่อนำทั้ง 3 สี (CMY) มาผสมกัน จะได้สีดำ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มาของปัญหา มาได้อย่างไร
แน่นอนว่าการที่เราทำงานโดยดูสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นระบบ RGB และต้องพิมพ์งานออกมาใส่กระดาษโดยใช้ระบบ CMYK ซึ่งมี "ขอบเขตสี" ที่เล็กกว่า จะสร้างความปวดหัวให้กับเจ้า Computer พอสมควร

ท่านลองคิดดูว่า ถ้าไฟล์งานของเราใช้สีที่เป็นสีเขียวสะท้อนแสง หรือชมพูสะท้อนแสง (ซึ่ง "หน้าจอคอมพิวเตอร์" ใช้ระบบ RGB สามารถสร้างสีพวกนี้ขึ้นมาได้ แต่เครื่อง "Printer" ใช้ระบบ CMYK ไม่สามารถสร้างสี "แป๊ด" ได้ขนาดนั้้นได้) ตอนเราสั่งพิมพ์งานเจ้า Computer จะทำอย่างไร?

Computer จะแปลงสี RGB ให้เป็น CMYK

Computer จะแปลงสี RGB ให้เป็น CMYK โดยจะพยายามรักษาค่าสีให้ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด

เจ้า Computer ก็ต้องพยายามตอบสนองความต้องการของนายของมัน โดยการแปลงสีเขียวแป๊ดๆ หรือสีชมพูแป๊ดๆ ที่เราต้องการ จากระบบ RGB ให้เป็น สีเขียว และสีชมพู ในระบบ CMYK ที่ใกล้เคียงกับระบบ RGB มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ผลก็คือว่า สิ่งงานพิมพ์ที่ได้จากเครื่อง Printer จะสีผิดเพื้ยนไปจากหน้าจอนั่นเอง! สีเขียว และสีชมพูที่ได้จากการพริ้นท์ จะไม่ "แป๊ด" เท่ากับในหน้าจอคอมพิวเตอร์

แล้วจะทำอย่างไรกันดีนะ?
วิธีลดปัญหาดังกล่าวทำได้ไม่ยาก นั่นก็คือ บอกให้จอคอมพิวเตอร์แสดงสีเฉพาะที่ระบบ CMYK สามารถทำได้นั่นเอง นั่นก็คือ เราต้องบอกให้โปรแกรมที่เราใช้ออกแบบงานสิ่งพิมพ์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกมอย่าง Adobe Photoshop, Illustrator หรือ InDesign ทำงานในระบบ CMYK แทนที่ระบบ RGB

โปรแกรมเหล่านี้จะทำการตัดสีแป๊ดๆ ต่างๆ หรือสีอื่นใด ที่ระบบ CMYK ไม่สามารถสร้างได้ ออกไปจากสารบบของไฟล์งานของเรา เหลือเฉพาะสีที่ระบบ CMYK สามารถทำได้ให้เราเลือกใช้ในการออกแบบ

พอเรา Save ไฟล์ๆ ก็จะถูก Save ในระบบ CMYK และเมื่อเราสั่งพิมพ์งาน เจ้า Computer ก็ไม่จำเป็นต้องแปลงค่าสีจากระบบ RGB ให้เป็น CMYK ก่อนที่จะส่งไฟล์เข้าเครื่องพิมพ์อีกต่อไป

ผลก็คือ สีของงานพิมพ์ที่เราได้ จะใกล้เคียงกับสีที่เราเห็นในหน้าจอคอมพิวเตอร์

อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่โปรแกรมที่ผู้ใช้ทั่วๆ ไปตามบ้านคุ้นเคยส่วนใหญ่ เช่น Microsoft Word, Excel, และ PowerPoint ยังไม่สามารถที่จะทำงานในระบบ CMYK ได้

ดังนั้น หากท่านต้องการที่จะออกแบบงานสิ่งพิมพ์ ที่ต้องการควบคุมเรื่องคุณภาพของสีแล้วหละก็ ทำไฟล์งานเป็นระบบ CMYK จะปลอดภัย

การเลือก color mode ในการใช้งาน
ในการทำงานและออกแบบโดยใช้โปรแกรมกราฟฟิคต่าง ๆ ท่านสามารถเลือกใช้ได้ทั้ง RGB color mode หรือ CMYK color mode ก็ได้ แต่ถ้าใช้ RGB color mode เมื่องานเสร็จสิ้นก่อนส่งให้โรงพิมพ์ให้แปลง file งานเป็น CMYK color mode และให้ตรวจดูคุณภาพของภาพและสีสัน ประโยชน์ของการทำงานในระบบ RGB คือ ขนาดของ file งานใน ระบบ RGB มีขนาดเล็กกว่า file งานในระบบ CMYK ด้วยขนาด file ที่เล็กกว่าจะทำให้การทำงานคล่องตัวขึ้น และอาณาบริเวณของสี ในระบบ RGB กว้างกว่าในระบบ CMYK หากทำงานในระบบ CMYK จะทำให้สูญเสียค่าของสีหากนำไปใช้งานอื่น ๆ เช่นนำไปใช้ใน web site นอกจากนี้ filter หลาย ๆ ชุดทำงานได้เฉพาะในระบบ RGB เท่านั้น หากต้องการตรวจสอบภาพในระบบ CMYK ในระหว่างทำงาน ก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง CMYK preview หรือ กด ‘Crtl’ กับ ‘Y’ หรือตรวจจากคำสั่ง ‘Gamut Warning’ สิ่งหนึ่งที่พึงระวังอย่างยิ่ง คือให้หลีกเลี่ยงการแปลงกลับไปมาระหว่าง ระบบ RGB กับ CMYK หลาย ๆ ครั้ง นั่นจะทำให้รายละเอียดของภาพสูญเสียไป สีสันของภาพจะผิดเพี้ยนไป

กลับหน้าเดิม

 
     
 
  หน้าแรก l กล่องลูกฟูก Corrugations box l ใบปลิว Flyers l แผ่นพับ Leaflets โบว์ชัวร์ Brochures l ฉลากสินค้า Labels l หีบห่อบรรจุสินค้า Packaging สาระน่ารู้ Knowledge l
เกี่ยวกับเรา About us l ตัวอย่างงาน Sample works l ติดต่อเรา Contact us
 

36 ซอยข้าวสาร แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
E-mail : kscpackage@yahoo.com, kscpackage@hotmail.com

 
กลับหน้าแรกกันเถอะส่งเมล์ด่วนถึงเรา แผนที่เว็บ กันหลง เปลี่ยนภาษาไทย เปลี่ยนภาษาอังกฤษ หน้าแรก